วิธีป้องกัน Brain Fog Syndrome อาการทำงานเยอะ จนสมองล้า

ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เกิดจากการทำงานหนักของสมองในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการทำงาน หรือการอ่านหนังสือเรียน ส่งผลให้เกิดอาการทางอารมณ์ที่แปรปรวน ถึงแม้อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่หากเกิดภาวะสมองล้าบ่อยครั้ง จะทำให้เสี่ยงโรคอื่นๆ ตามมา และสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น เกิดอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมก่อนวัย

แอดมินมาแนะนำวิธีป้องกัน Brain Fog Syndrome ต้องทำอย่างไรบ้างไปดูกันครับ💁🏻‍♂️

 

 

💥อาการของภาวะสมองล้า

อาการทางสมองจากภาวะสมองล้า ได้แก่ มีปัญหาด้านความจำ ไม่ค่อยมีสมาธิ คิดได้ช้า ส่งผลให้ทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ลำบากมากยิ่งขึ้น

อาการทางร่างกายและอารมณ์จากภาวะสมองล้า ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะแบบเรื้อรัง หงุดหงิดง่าย และสายตาอ่อนเพลีย

 

💥สาเหตุของภาวะสมองล้า

มีสภาวะความเครียดมากเกินไปส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดเสี่ยงภาวะสมองล้า

พักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกาย

รับคลื่นแม่เหล็กจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์มากเกินไป

เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น

เกิดจากสารพิษในร่างกาย เช่น สารโลหะหนัก การปนเปื้อนในอาหาร หรือมลพิษ เป็นต้น

 

 

💥การป้องกันภาวะสมองล้า

จัดตารางงานทีละชิ้น และกำหนดเวลาในการทำให้แน่นอน ไม่ควรทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

ดูแลตนเองให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนวันละ 7-8 ชั่วโมง

กินอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสมอง เช่น นำ้แปะก๊วย พืชตระกูลถั่ว ไข่ ปลาน้ำลึก

ออกกำลังกายสมอง เช่น เล่นเกมไขปริศนา เรียนรู้ทักษะใหม่ ทำงานฝีมือ

 

ภาวะสมองล้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน⚡️ โดยเฉพาะวัยทำงาน💻 และวัยเรียน📚 ถึงแม้อาการจะสามารถหายได้ในเวลาต่อมา แต่หากไม่ใส่ใจอาจมีโรคอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การผ่อนคลายตนเองไม่ให้สมองทำงานหนักจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และควรคำนึงถึงอยู่เสมอครับ

 

ที่มา : โรครว้ายๆวัยทำงาน